Super Kawaii Cute Cat Kaoani

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

การย่อยอาหารของสัตว์


การย่อยอาหารของสัตว์
สัตว์แต่ละชนิดมีการนำสารอาหารเข้าสู่ร่างกายและย่อยอาหาร


        
       การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิด
 สัตว์บางชนิด  เช่น  ฟองน้ำไม่มีระบบทางเดินอาหาร  แต่จะมีเซลล์พิเศษทำหน้าที่จับอาหารเข้าสู่เซลล์แล้วทำการย่อยภายในเซลล์สัตว์บางชนิดมีระบบทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์  เนื่องจากมีช่องเปิดทางเดียว เช่น ไฮดรา พลานาเรีย
             สัตว์บางชนิดเช่น  ไส้เดือนดิน แมลงและสัตว์มีกระดูกสันหลังมีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์  คือมีปากและทวารหนัก ระบบทางเดินอาหารของสัตว์เหล่านี้จะมีโครงสร้างรายละเอียดบางอย่างแตกต่างกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและพฤติกรรมการกิน
1.  การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่ไม่มีกระดูกสันหลัง
                1.1  การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่ไม่มีทางเดินอาหาร
                ฟองน้ำ(Sponge) เป็นสัตว์ในไฟลัมพอริเฟอรา  ไม่มีปากและทวารหนักที่แท้จริง  ทางเดินอาหารเป็นแบบร่างแห (Channel network)  ซึ่งไม่ใช่ทางเดินอาหารที่แท้จริง  เป็นเพียงรูเปิดเล็กๆ ข้างลำตัว  เรียกว่า ออสเทีย (Ostia)  ทำหน้าที่เป็นทางน้ำไหลเข้าสู่ลำตัวฟองน้ำเป็นการนำอาหารเข้าสู่ลำตัว  ส่วนรูเปิดด้านบนลำตัว เรียกว่า ออสคิวลัม (Osculum) ทำหน้าที่เป็นทางน้ำออก ผนังด้านในมีเซลล์พิเศษ เรียกว่า เซลล์โคแอนโนไซต์ (Choanocyte) โบกพัดเซลล์อยู่ตลอดเวลา  ทำให้เกิดการไหลเวียนของอาหาร ตัวเซลล์โคแอนโนไซต์นำอาหารเข้าสู่เซลล์โดยฟาโกไซโทซีส (Phagocytosis)เกิดเป็นฟูดแวคิวโอลและมีการย่อยอาหารภายในฟูดแวคิวโอลนอกจากนี้ยังพบเซลล์ บริเวณใกล้กับเซลล์โคแอโนไซต์มีลักษณะคล้ายอะมีบา เรียกว่า อะมีโบไซต์ (Amoebocyte)  สามารถนำสารอินทรีย์ขนาดเล็กเข้าสู่เซลล์และย่อยอาหารภายในเซลล์แล้วส่งอาหารที่ย่อยแล้วไปยังเซลล์อื่นได้


                           ภาพแสดงโครงสร้างภายในของฟองน้ำ  เซลล์โคแอโนไซด์ในการจับ
                           อาหารแบบฟาโกไซโทซีสย่อย  แล้วส่งอาหารต่ออะมีโบไซต์
                          

            ภาพเคลื่อนที่ 2.1 แสดงออสเทีย Ostia )  ทำหน้าที่เป็นทางน้ำไหลเข้าสู่ลำตัวฟองน้ำ  
            ส่วนรูเปิดด้านบนลำตัวเรียกว่าออสคิวลัม
 (Osculumทำหน้าที่เป็นทางน้ำออก

1.2  การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ (Incomplete  digestive  tract)
                เป็นทางเดินอาหารที่มีทางเปิดทางเดียว  คือ มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก  ปากทำหน้าที่เป็นทางเข้าของอาหารและทางออกของกากอาหาร  ระบบทางเดินอาหารยังไม่พัฒนามากนัก
                ไฮดรา  เป็นสัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย  มีทางเดินอาหารเป็นแบบปากถุง (One hole sac)  ไฮดราใช้อวัยวะคล้ายหนวด  เรียกว่าหนวดจับ (Tentacle)  ซึ่งมีอยู่รอบปาก อาหารของไฮดราคือ   ตัวอ่อนของกุ้ง  ปู  และไรน้ำเล็กๆ  และใช้เซลล์ที่มีเนมาโทซิสต์ (Nematocyst)  หรือเข็มพิษที่อยู่ที่ปลายหนวดจับในการล่าเหยื่อ  ต่อจากนั้นจึงส่งเหยื่อเข้าปาก  ทางเดินอาหารของไฮดราอยู่กลางลำตัวเป็นท่อกลวงเรียกว่า ช่องแกสโตรวาสคิวลาร์ (Gastrovascular cavity)  ซึ่งบุด้วยเซลล์ทรงสูเรียกว่าชั้นแกสโตรโดรมิส (Gastrodermis) เป็นเยื่อชั้นในบุช่องว่างของลำตัวซึ่งประกอบด้วย
                1. นิวทริทิพ เซลล์ (Nutritive cell) บางเซลล์มีแซ่ 2 เส้น เรียกว่า แฟลเจลเลตเซลล์ (Flagellate cell) บางเซลล์คล้ายอะมีบา เรียกว่าอะมีบอยด์เซลล์ (Amoebiol cell) ทำหน้าที่ยื่นเท้าเทียมออกมาล้อมจับอาหาร ส่วนแฟลเจลเลตเซลล์ มีหน้าที่โบกพัดให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำภายในช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ และโบกพัดให้กากอาหารเคลื่อนที่ออกทางปากต่อไป
                2. เซลล์ต่อมหรือเซลล์ย่อยอาหาร (Gland cell or digestive cell) เป็นเซลล์ที่สร้างน้ำย่อยและปล่อยออกมา ซึ่งการย่อยอาหารโดยเซลล์ต่อม จัดเป็นการย่อยอาหารแบบนอกเซลล์ ส่วนการย่อยโดยอะมีบอยด์เซลล์จัดเป็นการย่อยอาหารแบบภายในเซลล์


                       ภาพ แสดงช่องว่างกลางลำตัวของไฮดรา(Gastrovascular  cavity) เซลล์จับอาหารกิน
                       (Nematosis )และเซลล์พิเศษที่สร้างน้ำย่อยของไฮดรา
                       

หนอนตัวแบน   เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส (Platyhelminthesได้แก่ พลานาเรีย  พยาธิใบไม้ และพยาธิตัวตืด
1. พลานาเรีย ทางเดินอาหารของพลานาเรียเป็นแบบ 3 แฉก แต่ละแฉกจะมีแขนงของทางเดินอาหารแตกแขนงย่อยออกไปอีกเรียกว่า ไดเวอร์ทิคิวลัม (Diverticulum) ปากอยู่บริเวณกลางลำตัว  ต่อจากปากเป็นคอหอย (Pharynx) มีลักษณะคล้ายงวงยาวหรือโพเบอซิส (Probosis)  มีกล้ามเนื้อแข็งแรง  มีหน้าที่จับอาหารเข้าสู่ปาก กากอาหารที่เหลือจากการย่อยและดูดซึมแล้วจะถูกขับออกทางช่องปากเช่นเดิม  การย่อยอาหารของพลานาเรียเป็นการย่อยภายนอกเซลล์  นอกจากนี้เซลล์บุผนังช่องทางเดินอาหารยังสามารถฟาโกไซโทซิสจับอาหารเข้ามาย่อยภายในเซลล์ได้ด้วย

         

               ภาพซ้ายแสดงคอหอยที่ใช้จับอาหารและปาก  และภาพขวาแสดงทางเดินอาหารของพลานาเรีย
             
2. พยาธิใบไม้ มีทางเดินอาหารคล้ายพลานาเรีย แต่ทางเดินอาหารส่วนลำไส้ไม่แตกกิ่งก้านสาขา  มีลักษณะคล้ายอักษรรูป
ตัววาย (Y–shape) ทางเดินอาหารของพยาธิใบไม้ประกอบด้วยปากปุ่มดูด (Oral  sucker) ที่มีปากดูดกินอาหารจากโฮสต์ 
ต่อจากปากเป็นคอหอย (Pharynx) ต่อจากคอหอยเป็นหลอดอาหารสั้น ๆซึ่งจะต่อกับลำไส้ (Intestine)

             

                                ภาพแสดงทางเดินอาหารของพยาธิใบไม้และอวัยวะภายในบางชนิด
                               

3. พยาธิตัวตืด  ไม่มีระบบทางเดินอาหาร เพราะอาหารที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายส่วนใหญ่ถูกแปรสภาพเรียบร้อยแล้วโดยผู้ถูกอาศัย   ใช้กระบวนการแพร่ของสารอาหารที่ย่อยแล้วเข้าสู่ร่างกาย

Tape Worm

                                                                              ภาพลักษณะของพยาธิตัวตืด

                                                 
 1.3 การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ (Complete  digestive  tract)
                หนอนตัวกลม เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมเนมาโทดา (Nematodaมีทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง หรือท่อกลวง
 (Two hole tube)  มีคอหอยเป็นกล้ามเนื้อหนาช่วยในการดูดอาหาร  มีลำไส้ยาวตลอดลำตัว อาหารที่หนอนตัวกลมกินเข้าไปจะถูกย่อยและดูดซึมโดยลำไส้

ทางเดินอาหารของหนอนตัวกลมเรียงตามลำดับต่อไปนี้






ภาพแสดงทางเดินอาหารของหนอนตัวกลม มีปากและทาวารหนัก
                            
        ไส้เดือนดิน เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมแอนนิลิดา มีระบบทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง (Two hole tube)ทางเดินอาหารของไส้เดือนดินประกอบด้วยปาก ซึ่งเป็นรูเปิดทางด้านหน้าของปล้องที่หนึ่ง ต่อจากปากก็จะเป็นช่องปาก (Buccal cavity) คอหอยมีกล้ามเนื้อหนาช่วยในการฮุบกิน มีกระเพาะพักอาหารและมีกึ๋นช่วยในการบดอาหาร ลำไส้สร้างน้ำย่อยปล่อยออกมาย่อยอาหาร สารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบเลือด เพื่อลำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายส่วนสารที่ย่อยไม่ได้ก็จะถูกขับออกทางช่องทวารหนักที่อยู่ทางส่วนท้ายของลำตัวเป็นกากอาหาร

ทางเดินอาหารของไส้เดือนดินเรียงตามลำดับต่อไปนี้




                                                               ภาพแสดงส่วนประกอบของทางเดินอาหารของไส้เดือนดิน
                                                        
    กุ้ง เป็นสัตว์ขาปล้องจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทโพดา ทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง(Two hole tube) แบ่งเป็น 3 ตอน คือ
          1. ทางเดินอาหารตอนหน้า(Stomodaeumใช้ปากซึ่งมีรยางค์รอบปาก 3 คู่ ช่วยในการกินเคี้ยวอาหารและมีต่อมน้ำลาย (Salivary gland) ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อย มีหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ซึ่งกระเพาะอาหารของกุ้ง ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ เป็นที่พักและบดอาหาร
          2. ทางเดินอาหารตอนกลาง(Mesenteron) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกระเพาะอาหาร และมีช่องรับน้ำย่อย   ทางเดินอาหารส่วนนี้จึงทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร
          3. ทางเดินอาหารตอนปลาย(Protodaeumเป็นส่วนที่เรียกว่าลำไส้ เป็นท่อเล็ก ๆ พาดไปทางด้านหลังของลำตัว และไปเปิดออกที่ส่วนท้ายของส่วนท้องเรียกว่า ทวารหนัก

                ทางเดินอาหารของกุ้งเรียงตามลำดับดังนี้





                                                                                  ภาพแสดงทางเดินอาหารของกุ้ง
                                                             
 แมลง เป็นสัตว์ในกลุ่มขาปล้องจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทโพดา ทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง (Two hole tube) ปากของแมลงมีการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างออกไป ให้มีความเหมาะสมกับสภาพของอาหารที่แมลงแต่ละชนิดกิน แต่แมลงมีลักษณะพื้นฐานของทางเดินอาหารที่เหมือนกัน คือ ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะพักอาหารขนาดใหญ่ อยู่บริเวณทรวงอก และกระเพาะบดอาหาร(Gizzard)  ช่วยในการกรองและบดอาหาร มีต่อมสร้างน้ำย่อย (Digestive  gland) มีลักษณะคล้ายนิ้วมือ  8  อัน ยื่นออกมาจากทางเดินอาหารระหว่างกึ๋นและกระเพาะอาหาร

ทางเดินอาหารของแมลงเรียงตามลำดับได้ดังนี้


                                                                             ภาพที่แสดงทางเดินอาหารของตั๊กแตน
                                                                             
หอยกาบ เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมมอลลัสกา มีทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง (Two hole tube) หอยกาบมีทางเดินอาหารแบ่งออกเป็นส่วน ๆ คือ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ไส้ตรงและทวารหนัก การกินอาหารของหอยกาบ จะใช้เลเบียลพัลพ์ (Labial palp)  ข้างละ 1 คู่ ของปาก ช่วยพัดโบกให้อาหารตกลงไปในปาก

ทางเดินอาหารของหอยกาบเรียงตามลำดับต่อไปนี้




Digestive system of a generalized mollusk

                                                                             ภาพ แสดงทางเดินอาหารของหอย
                                                                  
2. การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่มีกระดูกสันหลัง
2.1 การย่อยอาหารของปลา ปลาเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา(Chordata) ปลามีทั้งปลาปากกลมซึ่งเป็นปลาที่ไม่มีขากรรไกรขอบของปากและลิ้นมีฟันใช้ขูดเนื้อและดูดกินเลือดสัตว์อื่น   ปลาฉลามมีปากอยู่ทางด้านล่างและมีฟันจำนวนมาก  ฉลามมีลำไส้สั้นและภายในมีลิ้นซึ่งมีลักษณะเหมือนบันไดเวียน (Spiral valve) ช่วยในการถ่วงเวลาไม่ให้อาหารเคลื่อนตัวไปเร็ว   และพวกปลากระดูกแข็งมีปากซึ่งภายในมีฟันรูปกรวย  มีลิ้นขนาดเล็กยื่นออกมาจากปากทำหน้าที่รับสัมผัส  พวกปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาน้ำดอกไม้ ปลาพวกนี้จะมีลำไส้สั้น ส่วนปลากินพืช เช่น  ปลาทู ปลาสลิด จะมีลำไส้ยาว

ทางเดินอาหารของปลาเรียงตามลำดับต่อไปนี้

    ปาก     คอหอย       หลอดอาหาร       กระเพาะอาหาร      ลำไส้      ทวารหนัก


                                                                              ภาพแสดงทางเดินอาหารของปลา
                                           

                                               ภาพแสดงลิ้นซึ่งมีลักษณะเหมือนบันไดเวียน (Spiral valve) ของปลาฉลาม
                                         

2.2  การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดปีก  ได้แก่ นก เป็ด ไก่  ซึ่งเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังจัดอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา(Chordata)  ทางเดินอาหารประกอบด้วยปากซึ่งไม่มีฟัน  ต่อมน้ำลายเจริญไม่ดี  แต่สร้างเมือกสำหรับคลุกเคล้าอาหารและหล่อลื่นได้  มีคอหอยสั้น  หลอดอาหารยาว  มีถุงพักอาหาร(Crop) ซึ่งทำหน้าที่เก็บอาหารสำรองไว้ย่อยภายหลัง  กระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น ส่วน  คือ  กระเพาะตอนหน้าหรือกระเพาะย่อย (Proventriculus)  ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อย  และกระเพาะอาหารตอนท้ายหรือกระเพาะบด (Gizzard)  ต่อจากกระเพาะบดเป็นลำไส้เล็ก  ลำไส้ใหญ่  ส่วนท้ายเป็นโคลเอกา (Cloaca)  ที่มีท่อไตและท่อของระบบสืบพันธุ์มาเปิดเข้าด้วยกัน  และทวารหนักซึ่งเป็นส่วนท้ายสุด

ทางเดินอาหารของสัตว์ปีกเรียงตามลำดับต่อไปนี้


                                                                           ภาพแสดงทางเดินอาหารของนก
                                         


                                                                                     ภาพแสดงทางเดินอาหารของไก่
                                             
 2.3  การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดกินพืช  ได้แก่ วัว ควาย จะมีโครงสร้างของทางเดินอาหารแตกต่างจากคนและสัตว์กินเนื้ออื่นๆ อยู่ ประการ คือ
       1.  การมีทางเดินอาหารที่ยาวมากๆ ยาวถึง 40 เมตร  ทำให้ระยะเวลาในการย่อยและการดูดซึมสารอาหารนานยิ่งขึ้น  กระเพาะอาหารของวัวและควายแบ่งออกเป็น ส่วน มีชื่อและลักษณะเฉพาะ  ได้แก่    
1.1  กระเพาะผ้าขี้ริ้วหรือรูเมน (Rumen)  เป็นกระเพาะอาหารที่มีจุลินทรีย์ พวก
แบคทีเรียและ  โพรโทซัวจำนวนมาก  จุลินทรีย์พวกนี้สร้างน้ำย่อยเซลลูเลส  ย่อยสลายเซลลูโลสจากพืชที่กินเข้าไปและสามารถสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวเอื้องเป็นครั้งคราวเพื่อบดเส้นใยให้ละเอียดจึงเรียกสัตว์พวกนี้ว่าสัตว์เคี้ยวเอื้อง
1.2  กระเพาะรังผึ้งหรือเรติคิวลัม (Reticulum)  ทำหน้าที่ย่อยนม เมื่อโค กระบือยัง
เล็กอยู่  และมีจุลินทรีย์เช่นเดียวกับกระเพาะอาหารส่วนรูเมน
1.3  กระเพาะสามสิบกลีบหรือโอมาซัม (Omasum)  ทำหน้าที่ผสมและบดอาหาร
นอกจากนี้ยังดูดซึมและซับน้ำจากรูเมนอีกด้วย
1.4     กระเพาะจริงหรืออะโบมาซัม (Abomasum)  มีการย่อยอาหารและจุลินทรีย์ไป
พร้อมๆกัน  แล้วจึงส่งต่อไปยังลำไส้เล็กเพื่อย่อยให้สมบูรณ์
เมื่ออาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้เล็กตอนต้น  จะมีการย่อยโปรตีน  ไขมันและแป้งจากน้ำย่อยจากตับอ่อนและน้ำดีจากตับ  จากนั้นก็ดูดซึมเข้าสู่ระบบหมุนเวียนต่อไป


                                                                              ภาพแสดงทางเดินอาหารของวัว
                                         

                     

               ภาพแสดงกระเพาะอาหารของวัวซึ่งแบ่งได้เป็น  4  ส่วน Rumen ,Reticulum , Omasum และ Abomasum
    
        ในปัจจุบันมีการนำเอาแบคทีเรียและโพรโทซัวมาผสมในอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยและการดูดซึมอาหารของสัตว์
              2. การมีไส้ติ่งใหญ่  ไส้ติ่งของสัตว์กินพืชจะมีขนาดใหญ่ และเป็นบริเวณที่มีการย่อยอาหารโดยจุลินทรีย์ด้วย สำหรับไส้ติ่งของสัตว์กินเนื้อจะมีขนาดเล็กและไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยอาหาร


ดาวเคราห์ในระบบสุริยะ


 ระบบสุริยะ(Solar System)



  ระบบสุริยะ (Solar System) คือระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางมีดาวเคราะห์ (Planets) 9 ดวง ดวงจันทร์บริวารของดวงเคราะห์แต่ละดวง (Moon of sattelites) ดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจร ภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูด จากดวงอาทิตย์ ระบบสุริยะไม่จำเป็นต้องมีแห่งเดียว ถ้าที่อื่นมีลักาณะอย่างนี้ก็เรียกว่าระบบสุริยะได้เหมือนกัน แต่ในที่นี้จะหมายถึงระบบสุริยะของเรา ขนาดของระบบสุริยะ กว้างใหญ่ไพศาลมาก เมื่อเทียบระยะทาง ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 1 หน่วยดาราศาสตร์ 

    กล่าวคือ ระบบสุริยะมีระยะทางไกลไปจนถึงวงโคจรของดาวพลูโต ดาว เคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ในระบบสุริยะ ซึ่งอยู่ไกล เป็นระยะทาง 40 เท่าของ 1 หน่วยดาราศาสตร์ และยังไกลห่างออก ไปอีกจนถึงดงดาวหาง อูร์ต (Oort's Cloud) ซึ่งอาจอยู่ไกลถึง 500,000 เท่า ของระยะทางจากถึงดวงอาทิตย์ด้วย ดวงอาทิตย์มีมวล มากกว่าร้อยละ 99 ของ มวลทั้งหมดในระบบสุริยะ ที่เหลือนอกนั้นจะเป็นมวลของ เทหวัตถุต่างๆ ซึ่ง ประกอบด้วยดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต รวมไปถึงฝุ่นและก๊าซ ที่ล่องลอยระหว่าง ดาวเคราะห์ แต่ละดวง โดยมีแรงดึงดูด (Gravity) เป็นแรงควบคุมระบบสุริยะ ให้เทหวัตถุบนฟ้าทั้งหมด เคลื่อนที่เป็นไปตามกฏแรง แรงโน้มถ่วงของนิวตัน ดวงอาทิตย์แพร่พลังงาน ออกมา ด้วยอัตราประมาณ 90,000,000,000,000,000,000,000,000 แคลอรีต่อวินาที เป็นพลังงานที่เกิดจากปฏิกริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ โดยการเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม ซึ่งเป็นแหล่งความร้อนให้กับดาว ดาวเคราะห์ต่างๆ ถึงแม้ว่าดวงอาทิตย์จะเสียไฮโดรเจนไปถึง 4,000,000 ตันต่อวินาทีก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังมี ความเชื่อว่าดวงอาทิตย์จะยังคงแพร่พลังงานออกมา ในอัตรา ที่เท่ากันนี้ได้อีกนานหลายพันล้านปี

     ในบรรดาสมาชิกของระบบสุริยะซึ่งประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์ ของดาวเคราะห์ดาวหาง อุกกาบาต สะเก็ดดาว รวมทั้งฝุ่นละอองก๊าซ อีกมากมาย นั้นดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ 9 ดวง จะได้รับความสนใจมากที่สุดจากนักดาราศาสตร์ ซึ่งมีข้อมูล รายละเอียดพอสรุปได้ดังนี้

ดาวพุธ (Mercury)

      



      ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด จึงเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์เร็วที่สุด โดยใช้เวลาเพียง 87.969 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ดาวพุธหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียว กับการเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ คือ จากทิศตะวันตกไป ทิศตะวันออก หมุนรอบตัวเองรอบละ 58.6461 วัน เมื่อพิจารณาจากคาบของการหมุนรอบตัวเอง และการคาบการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ จะพบว่าระยะเวลากลางวัน ถึงกลางคืนบนดาวพุธยาวนานถึง 176 วัน ซึ่งยาวนานที่สุดในระบบสุริยะ
      พื้นผิวของดาวพุธมีลักษณะคล้ายดวงจันทร์ โดยเฉพาะด้านไกลโลก เพราะต่างไม่มีบรรยากาศ แต่ดาวพุธมีขนาดใหญ่กว่า มีแรงโน้มถ่วงสูงกว่า ขอบหลุมบนดาวพุธจึงเตี้ยกว่าบนดวงจันทร์ ยานอวกาศที่เข้าไปเฉียดใกล้ๆ ดาวพุธและนำภาพมาต่อกันจนได้ภาพพื้นผิวดาวพุธดังกล่าวคือ ยานอวกาศมารีเนอร์ 10 ของสหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2517 นับว่าเป็นยานลำแรกและลำเดียวที่ส่งไปสำรวจดาวพุธ ยานมารีเนอร์ 10 เข้าใกล้ดาวพุธ 3 ครั้งด้วยกัน คือ เมื่อเดือนมีนาคม และ กันยายน พ.ศ. 2517 และเดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 ยานเข้าใกล้ดาวพุธที่สุดครั้ง แรกเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2517 และได้ส่งภาพกลับมา 647 ภาพ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2517 และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2518 ขณะนั้นเครื่องมือภายในยานได้เสื่อมสภาพลง ในที่สุดก็ติดต่อกับโลกไม่ได้ตั้งแต่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2518 ยานมารีเนอร์ 10 จึงกลายเป็นขยะอวกาศที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ โดยเข้ามาใกล้ดาวพุธครั้งคราวตามจังหวะเดิมต่อไป
     นอกจากดาวพุธจะมีช่วงกลางวันถึงกลางคืนยาวที่สุดแล้ว ยังมีทางโคจรที่รีมากด้วย เป็นรองเฉพาะดาวพลูโตเท่านั้น ดาวพุธมีระยะใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด 0.31 หน่วยดาราศาสตร์ และไกลที่สุด 0.47 หน่วยดาราศาสตร์ ทำให้ 2 ระยะนี้ แตกต่างกันถึง 0.16 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 24 ล้านกิโลเมตร นั่นหมายความว่า ถ้าไปอยู่บนดาวพุธจะเห็นดวงอาทิตย์มีขนาดเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก โดยเมื่ออยู่ใกล้ดางอาทิตย์ที่สุดจะเห็นดวงอาทิตย์ใหญ่เป็น 2 เท่าครึ่งของเมื่ออยู่ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด ซึ่งโตประมาณ 4 เท่าของที่เห็นจากโลก ในระหว่างเวลากลางวัน อุณหภูมิที่ผิวของดาวพุธช่วงที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ที่สูงสุดถึง 700 เคลวิน (ประมาณ 427 องศาเซลเซียส) สูงพอที่จะละลายสังกะสีได้ แต่ในเวลากลางคืนอุณหภูมิลดต่ำลงเป็น 50 เคลวิน (-183 องศาเซลเซียส) ต่ำพอที่จะทำให้ก๊าซคริปตอนแข็งตัว การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบนพื้นผิวดาวพุธจึงรุนแรง คือร้อนจัดในเวลากลางวันและเย็นจัดในเวลากลางคืน ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดบนดวงจันทร์ของโลกเราด้วย ทั้งนี้เพราะไม่มีบรรยากาศที่จะดูดกลืนความร้อนอย่างเช่นโลก

ดาวศุกร์ (Venus)


     ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 มีขนาดเล็กกว่าโลกเล็กน้อย จึงได้ชื่อว่าเป็นดาวฝาแฝดกับโลก เป็นดาวเคราะห์ที่ปรากฏสว่างที่สุด สว่างรองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ถ้าเห็นทางทิศตะวันตกในเวลาค่ำเรียกว่า ดาวประจำเมือง และถ้าเห็นทางทิศตะวันออกในเวลาก่อนรุ่งอรุณ เรียกว่า ดาวประกายพรึก ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกอย่างรุนแรง เพราะมีบรรยากาศหนาทึบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ดาวศุกร์จึงร้อนมาก อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยสูงกว่าดาวพุธ ดาวศุกร์มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกที่สุด ใกล้กว่าดาวพุธ ซึ่งนักดาราศาสตร์ยุคโบราณเข้าใจผิดคิดว่าอยู่ใกล้โลกที่สุด ลักษณะพิเศษของดาวศุกร์คือ หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลานานกว่าการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ และถ้าเราอยู่บนดาวศุกร์เวลา 1 วัน จะไม่ยาวเท่ากับเวลาที่ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ นี่คือลักษณะพิเศษที่ดาวศุกร์ไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงใดๆ นอกจากนี้ดาวศุกร์ยังหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือหมุนจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ในขณะที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ดาวศุกร์จึงหมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่น และหมุนสวนทางกับการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองรอบละ 243 วัน แต่ 1 วันของดาวศุกร์ยาวนานเท่ากับ 117 วันของโลก เพราะตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกยาวนาน 58.5 วันของโลก ดาวศุกร์เคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละ 225 วัน 1 ปีของดาวศุกร์จึงยาวนาน 225 วันของโลก
     ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกบนพื้นผิวรุนแรงมาก ทั้งนี้เพราะดาวศุกร์มีก๊าซที่ช่วยดูดกลืนความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้มากและมีปริมาณสูงก๊าซดังกล่าวคือคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจาากนี้ยังมีไอของกรดกำมะถันซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของซัลเฟอร์ไดออกไซด์กับไอน้ำของดาวศุกร์มีอาร์กอน ไนโตรเจน คาร์บอนมอนอกไซด์ นีออน- ไฮโดรคลอไรด์ และไฮโดรฟลูออไรด์ ทำให้ความกดดันบรรยกาศสูงกว่าโลก 90 เท่า ปรากฏการณ์เรือนกระจกบนพื้นผิวดาวศุกร์ ทำให้ดาวศุกร์ร้อนทั้งกลางวันและกลางคืน ตอนกลางวันอุณหภูมิสูงถึง 477 องศาเซลเซียส บนพื้นผิวดาวศุกร์มีร่องลึกคล้ายทางน้ำไหล แต่เป็นร่องที่เกิดจากการไหลของลาวาภูเขาไฟ ไม่ใช่เกิดจากน้ำอย่างเช่นบนโลก 


โลก (Earth)



   โลกมีอายุประมาณ 4,700 ปีโลกไม่ได้มีรูปร่างกลมโดยสิ้นเชิง เส้นรอบวงที่เส้นศูนย์สูตรยาว 40,077 กิโลเมตร ( 24,903 ไมล์ )และที่ขั่วโลกยาว 40,009 กิโลเมตร ( 24,861 ไมล์ )

   โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรซึ่งใช้เวลา 365 1/4 วัน เพื่อให้ครบ 1 รอบ ปฏิทินแต่ละปีมี 365 วัน ซึ่งหมายความว่าจะมี 1/4 ของวันที่เหลือในแต่ละปี ซึ่งทุกๆปีสี่ปีจะมีวันพิเศษ คือจะมี 366 วัน กล่าวคือเดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันเหมือนปกติ ตามที่เคปเลอร์ค้นพบวงโคจรของโลกไม่เป็นวงกลม ในเดือนธันวาคมมันจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าเดือนมิถุนายน ซึ่งมันจะอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด โลกจะเอียงไปตามเส้นแกน ในเดือนมิถุนายน ซีกโลกเหนือจะเอียงไปทางดวงอาทิตย์ดังนั้น ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูร้อนและซีกโลกใต้จะเป็นฤดูหนาว ในเดือนธันวาคมจะเอียงจากดวงอาทิตย์ ทำให้ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวและซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน ในเดือนมีนาคมและกันยายซีกโลกทั้งสองไม่เอียงไปยังดวงอาทิตย์ กลางวันและกลางคืนจึงมีความยาวเท่ากัน ในเดือนมีนาคม       ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกใต้เป็นฤดูใบไม้ร่วง ในเดือนกันยายน สถานการณ์จะกลับกัน

ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 149,597,890 ก.ม. 1 A.U.
หมุนรอบตัวเอง 0.99726968 วัน
หมุนรอบดวงอาทิตย์ 0.99997862 ปี
เส้นผ่านศูนย์กลาง 12,756.28 ก.ม.
มวล 5.9742 × 10 24 ก.ก.
ความหนาแน่น 5515 ก.ก./ม 3
ความเร่งที่พื้นผิว 980 ซ.ม./วินาที 2
ความเร็วเฉลี่ย 29.7859 ก.ม./วินาที
ความเร็วการผละหนี 11.18 ก.ม./วินาที
ความรีของวงโคจร 0.01671022
ความเอียงระนาบวงโคจร 0.00005 องศา
ความเอียงของแกนหมุน 23.45 องศา
อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย 288 - 293 องศาเคลวิน
อุณหภูมิชั้นบรรยากาศ 288 องศาเคลวิน
ก๊าซในชั้นบรรยากาศ 1.Nitrogen (N 2) 78% 2.Oxygen (O 2) 21 3. Argon (Ar) 1%
ดาวบริวาร The Moon

ดาวอังคาร (Mars)


      ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ในบรรดาดาวเคราะห์บนฟ้าทั้งหมด เพราะเคยมีคนเชื่อว่า มีมนุษย์อยู่บนดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้ ดาวอังคารยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกเกือบพอๆ  กับดาวศุกร์ โดยระยะใกล้ที่สุดจะอยู่ภายใน 40 ล้านกิโลเมตร เมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่มีกำลังแยกภาพสูงสุด ส่องดาวอังคารขณะอยู่ใกล้โลกที่สุด จะเห็นรายละเอียดได้ถึง 150 กิโลเมตร ซึ่งเทียบได้กับการเห็นริ้วรอยบนดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า ที่กำลังแยกภาพขนาดนี้จะไม่เห็นรายละเอียดของพื้นผิว เช่นไม่เห็นหุบเหว หรือหลุมบ่อของดาวอังคาร แต่จะเห็นโครงสร้างใหญ่ๆ เช่นขั้วน้ำแข็งสีขาว หรือริ้วรอยสีคล้ำซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลของดาวอังคาร สาเหตุที่มีผู้เชื่อว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่บนดาวอังคาร เนื่องจากนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ จิโอวานนี ชิอาพาเรลลี รายงานเมื่อ พ.ศ. 2420 ว่าเขาได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่งพบร่องที่เป็นเส้นตรงจำนวนมากบนพื้นผิว และเรียกเป็นภาษาอิตาลีว่า คานาลี (canale) ซึ่งมีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า channel (ช่องหรือทาง) แต่คนอังกฤษเอาไปแปลว่า canal (คลอง) อันเป็นสิ่งซึ่งต้องขุดสร้างขึ้น ผู้ขุดสร้างคลองบนดาวอังคารจึงต้องเป็นมนุษย์ดาวอังคาร เพื่อนำน้ำจากขั้วมายังบริเวณศูนย์สูตรสำหรับการเพาะปลูก จุดนี้เองที่นำไปสู่การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เชื่อว่ามีมนุษย์ดาวอังคาร ซึ่งจะเดินทางมาบุกโลก ผู้ที่สนับสนุกความคิดเรื่องมนุษย์ดาวอังคารสร้างคลองส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก คือ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ นักดาราศาสตร์อเมริกันและเป็นสมาชิกของครอบครัวที่มั่งคั่งในรัฐแอริโซนา เขาได้ทำแผนที่แสดงคลองต่างๆ บนดาวอังคาร แต่ต่อมามีนักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังแยกภาพที่ดีกว่า ตรวจไม่พบคลองบนดาวอังคาร แต่ชาวบ้านทั่วไปยังฝังใจเชื่ออยู่ จนกระทั่งถึงยุคอวกาศจึงปรากฏชัดว่าไม่มีคลองบนดาวอังคารแน่นอน พื้นผิวดาวอังคารมีหลุมบ่อ หุบเหว ภูเขา และมีปล่องภูเขาไฟ มีร่องเหมือนเป็นทางน้ำไหลมาก่อน ดังจะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อการสำรวจดาวอังคารโดยยานอวกาศ
ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)

     ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ยักษ์ เพราะมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11.2 เท่า นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ เพราะมีองค์ประกอบเป็นก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียมคล้ายในดวงอาทิตย์ ความหนาแน่นของดาวพฤหัสบดีจึงต่ำ (1.33 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) เมื่อดูในกล้องโทรทรรศน์ จะเห็นเป็นดวงกลมโตกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ พร้อมสังเกตเห็นบริวาร 4 ดวงใหญ่เรียงกันอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตรด้วย กาลิเลโอเป็นนักดาราศาสตร์คนแรกที่ใช้กล้องส่องพบบริวารสี่ดวงใหญ่นี้ จึงได้รับเกียรติว่าเป็นดวงจันทร์ของกาลิเลโอ
     ความเป็นที่สุดของดาวพฤหัสบดี ใหญ่ที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลาย โดยมีเส้นผ่านศุนย์กลางเป็น 11.2 เท่าของโลก ขนาดเชิงมุมใหญ่ที่สุดเท่ากับ 50.0 ฟิลิปดา มีมวลสารมากที่สุดโดยมีเนื้อสารเป็น 318 เท่าของโลก หรือ 2.5 เท่าของดาวเคราะห์อื่นและบริวารรวมกัน มีปริมาตรมากที่สุด ถ้าดาวพฤหัสบดีกลวงจะสามารถจุโลกได้ 1,430 โลก หมุนรอบตัวเองเร็วที่สุด โดยใช้เวลาไม่ถึง 10 ชั่วโมงในการ หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ดังนั้น 1 วันบนดาวพฤหัสบดีจึงสั้นที่สุดด้วย การหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็วของดาวเคราะห์ ทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีออกจากจุดศูนย์กลาง ดาวพฤหัสบดีจึงโป่งออกบริเวณเส้นศูนย์สูตร ซึ่งสามารถสังเกตได้แม้ในรูปขนาดเล็ก มีความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงที่ผิวมากที่สุด โดยมีค่าเป็น 2.53 เท่าของโลก นั่นหมายความว่าถ้าเราอยู่บนดาวพฤหัสบดีเราจะหนักเป็น 2.53 เท่าของน้ำหนักบนโลก มีความเร็วของการผละหนีที่ผิวมากที่สุด (60 กิโลเมตรต่อวินาที เทียบกับ 11.2 กิโลเมตรต่อวินาทีที่ผิวโลก) ดังนั้นก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซฮีเลียมที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำ จึงไม่สามารถหนีจากดาวพฤหัสบดีได้ เป็นราชาแห่งดาวเคราะห์เพราะความเป็นที่สุดดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ยังเป็นระบบสุริยะย่อยๆ เพราะมีบริวารอย่างน้อย 16 ดวง เคลื่อนไปรอบๆ คล้ายดวงอาทิตย์ที่มีดาวเคราะห์โคจรรอบ 9 ดวง สมบัติอื่นๆ ของดาวพฤหัสบดีคือ มีจุดแดงใหญ่อยู่ที่ละติจูด 22 องศา มีขนาดโตกว่า 3 เท่าของโลก จุดแดงใหญ่เป็นพายุหมุนที่เกิดในบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี สังเกตุพบครั้งแรกโดย รอเบิร์ด ฮุค เมื่อ พ.ศ. 2207 และแคสสินี ในปีพ.ศ. 2208 จุดแดงใหญ่มีอายุอยู่ได้นานเพราะมีขนาดใหญ่ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และไม่มีใครบอกได้ว่าจุดแดงใหญ่จะหายไปเมื่อใด มีแถบและเข็มขัดขนานกันในแนวเส้นศูนย์สูตร เมื่อดูจากภาพถ่ายหรือดูในกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูง จะเห็นแถบกว้างหลายแถบระหว่างแถบมีร่องลึกคล้ายแข็มขัดหลายเส้นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี
     ดาวพฤหัสบดีให้ความร้อนและคลื่นวิทยุออกมามากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ และมากกว่าที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าใจกลางของดาวพฤหัสบดี มีอุณหภูมิสูงประมาณ 30,000 องศาเซลเซียส มีบริวารอย่างน้อย 16 ดวง และบริวาร 4 ดวงใหญ่ ที่ชื่อว่า ไอโอ ยูโรปา แกนิมีด และคัลลิสโต ค้นพบโดยกาลิเลโอ เมื่อ พ.ศ. 2153 ทำให้กาลิเลโอมั่นใจ และสนันสนุนทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสเกี่ยวกับระบบสุริยะว่า เป็นทฤษฎีที่ถูกต้อง ดาวพฤหัสบดีจึงเป็นระบบย่อยๆ ที่มีบริวารวิ่งวนอยู่โดยรอบ แบบเดียวกันกับที่ดาวเคราะห์ทั้งหลายต่างเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ การเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์เทียบกับดาวฤกษ์รอบละ 11.86 ปี หรือเกือบ 12 ปี ทำให้เห็นดาวพฤหัสบดีเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวจักรราศีได้ปีละ 1 กลุ่ม หรือผ่านครบ 12 ราศีในเวลาประมาณ 12 ปี

ดาวเสาร์ (Saturn)

    ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีความสวยงาม จากวงแหวนที่ล้อมรอบ เมื่อดูในกล้องโทรทรรศน์จะเห็นวงแหวน ซึ่งทำให้ดาวเสาร์มีลักษณะแปลกกว่าดาวดวงอื่นๆ ดาวเสาร์มีองค์ประกอบคล้ายดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ก๊าซที่มีลมพายุพัดแรงความเร็วถึง 1,125 ไมล์ต่อชั่วโมง มีขนาดใหญ่รองจากดาวพฤหัสบดี ถ้านับวงแหวนเข้าไปด้วย จะมีขนาดเท่าดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุด กล่าวคือมีความหนาแน่นเพียง 0.7 กรัมต่อลูกบาศก์ เซนติเมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ ดังนั้นหากมีน้ำจำนวนมากรองรับ ดาวเสาร์ก็จะลอยน้ำได้ เนื่องจากดาวเสาร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 2 เท่าของระยะดาวพฤหัสบดีจากดวงอาทิตย์ จึงใช้เวลานานเกือบ 30 ปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ แต่ดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองเร็วมาก จึงทำให้โป่งออกทางด้านข้างมากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่น สามารถสังเกตได้แม้ในภาพถ่ายขนาดเล็ก
วงแหวนของดาวเสาร์เป็นก้อนหินและน้ำแข็งสกปรก กล่าวคือ น้ำแข็งช่วยยึดฝุ่นและก้อนหินสกปรกเข้าด้วยกัน ก้อนน้ำแข็งสกปรกมีขนาดต่างๆ กัน และมีเป็นจำนวนมาก น้ำแข็งสะท้อนแสงดวงอาทิตย์ได้ดี เราจึงเห็นวงแหวนชัดเจน วงแหวนบางมาก และประกอบด้วยวงแหวนจำนวนหลายพันวง 

ดาวยูเรนัส (Uranus)



     ดาวเคราะห์ชั้นนอกดวงต่อไปถัดจากดาวเสาร์ได้แก่ดาวยูเรนัส ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นที่สามในระบบสุริยะ มันมีลักษณะเลือนลาง จะต้องมองดูด้วยกล้องโทรทัศน์เท่านั้นจึงสามารถมองเห็น เราเคยคิดว่ามันเป็นดาวฤกษ์ ในปี 1781 William Herschel ได้ใช้กล้องโทรทัศน์ค้นพบว่า ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ เขาเห็นแผ่นกลมสีเขียวที่ไม่มีรอย ต่อมา นักดาราศาสตร์ได้พบดาวบริวารห้าดวง ในปี 1977 ได้มีการพบวงแหวนของดาวยูเรนัส ถึงแม้ว่านักดาราศาสตร์จะใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุด แต่เขาก็ยังไม่สามารถค้นหาอะไรได้มากมายนักเกี่ยวกับดาวยูเรนัสเอง ในปี 1986 ยานอวกาศวอยาเจอร์2 ได้บินผ่านดาวยูเรนัสและได้ส่งภาพที่ชัดเจนของดาวยูเรนัส และวงแหวนตลอดจนดาวบริวารของมันกลับมายังพื้นโลก ในที่สุดเราก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับดาวยูเรนัส
โลกของน้ำ
          ภาพของดาวยูเรนัสจากยานอวกาศได้อธิบายว่า ทำไมนักดาราศาสตร์จึงไม่สามารถมองเห็นดาวยูเรนัสได้มากนัก ดาวยูเรนัสทั้งดวงปกคลุมด้วยหมอกสีเขียวแก่ ยานวอยาเจอร์ได้พบกลุ่มควันสองสามกลุ่มใต้หมอก แสดงให้เห็นว่าลมกำลังพัดรอบๆดาวยูเรนัสในอัตราความเร็วถึง 440 ไมล์ต่อชั่วโมง บรรยากาศประกอบด้วยแก๊ซไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเธน นักดาราศาสตร์บางคนคิดว่าพื้นผิวของดาวยูเรนัสปกคลุมด้วยมหาสมุทรที่ร้อน เหมือนกับดาวจูปิเตอร์และดาวเสาร์ แต่ประกอบด้วยน้ำร้อนแทนที่จะเป็นแก๊ซ ที่ใจกลางของดาวยูเรนัสจะมีแกนก้อนหินเล็กๆ

ดาวเนปจูน (Neptune)

ส่วนโค้งและดาวบริวารของดาวเนปจูน
           หลังจากที่ได้มีการค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมีวงแหวน คนเริ่มมองหาวงแหวนรอบๆดาวเนปจูนเขาใช้กล้องโทรทัศน์มองดูดาวเนปจูนเมื่อมันเคลื่อนใกล้ดาวฤกษ์ ถ้าดาวเนปจูนมีวงแหวนมันก็จะผ่านด้านหน้าของดาวฤกษ์ วงแหวนแต่ละวงจะตัดแสงของดาวฤกษ์ชั่วขณะหนึ่ง ในปี 1981 นักคณิตศาสตร์คนหนึ่งได้เห็นการลิบหรื่ของดาวฤกษ์ ตั้งแต่นั้น คนบางคนได้เห็นการลิบหรื่แต่บางคนไม่เห็นอะไรเลย บางมีดาวเนปจูนอาจมีวงแหวนที่เป็นชิ้นส่วนที่แตกออกเป็นชิ้นๆมันอาจมีส่วนโค้งสั้นๆ แทนที่จะเห็นวงแหวนทั้งวง ส่วนโค้งจะหมุนรอบดาวเนปจูน

ดาวบริวาร
           นักดาราศาสตร์ได้พบดาวบริวารสองดวงที่หมุนรอบดาวเนปจูน ดาวดวงหนึ่งมีขนาดเล็กชื่อว่า Neried ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 300 ไมล์ และหมุนรอบห่างจากดาวเนปจูน 3,475,000 ไมล์ ดาวบริวารดวงอื่นๆของดาวเนปจูนคือดาว Triton มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,100 ไมล์เป็นดาวบริวารที่ใหญ่เป็นที่สี่ ดาว Triton อาจมีบรรยากาศ มันอาจมีมหาสมุทรมีเธนและไนโตรเจนมันหมุนรอบดาวเนปจูนโดยห่างจากดาวเนปจูนเป็นระยะทาง 220,625 ไมล์ ดาว Triton หมุนรอบดาวเนปจูนในทิศทางตรงกันข้ามจากดาวบริวารส่วนใหญ่ มันยังเคลื่อนไหวเข้าไกล้ดาวเนปจูนในเวลา 10 ล้าน ถึง 100 ล้านปี มันอาจปะทะกับดาวเนปจูนหรือมันอาจแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆและก่อตัวเป็นรูปวงแหวนขนาดกว้างล้อมรอบดาวเนปจูน 

ดาวพลูโต (Pluto)


      เมื่อมีการค้นพบดาวเนปจูน ได้ประมาณขนาดและการหมุนรอบของมัน แต่ผลที่ออกมาไม่ได้เป็นไปตามที่คาดคิด ผลที่ได้ไม่สามารถอธิบายการหมุนที่ผิดปกติของดาวยูเรนัส บางทีอาจมีดาวเคราะห์อีกดวงที่อยู่ถัดจากดาวเนปจูน บางทีอาจเป็นแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ดวงนี้ดึงดูดดาวยูเรนัส ได้มีการเริ่มค้นหาดาวเคราะห์ดวงที่เก้าในระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ถูกค้นพบในปี 1930 ชาวอเมริกันชื่อ Clyde Tombaugh ได้ถ่ายภาพของมันบนท้องฟ้า ดาวเคราะห์ดวงนี้มีชื่อว่าดาวพูลโต สามารถมองเห็นได้โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่เท่านั้น
     เวลาส่วนใหญ่แล้วดาวพูลโตจะเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลดวงอาทิตย์มากที่สุด ในระหว่างการหมุนบางช่วงจะใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูน และอยู่ห่างไกลที่สุดในปี 1999 ดาวพูลโตเป็นดาวขนาดเล็ก โดยมีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ และยังเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลก บนดาวมีความหนาวเย็นมากและอาจไม่มีชั้นบรรยากาศ พื้นผิวของมันอาจปกคลุมด้วยน้ำแข็งหรือก๊าซของแข็ง เราคิดว่าดาวพูลโตประกอบขึ้นด้วยน้ำแข็งโดยมีแกนเป็นหิน ลักษณะอาจจะเหมือนดาวบริวารของดาวยูเรนัส บางทีครั้งหนึ่ง ดาวพูลโตอาจเคยเป็นดาวบริวารของดาวเนปจูนซึ่งหนีการหมุนรอบดาวเนปจูน ดาวพูลโตมีดาวบริวาร 1 ดวงชื่อดาว Charon ซึ่งพบโดยการดูด้วยกล้องโทรทัศน์ในปี 1978 ดาว Charon มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 725 ไมล์ ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลางของดาวพูลโต ดาว Charon หมุนรอบดาวพูลโต โดยมีระยะทางห่างจากดางพูลโต 12,125 ไมล์ มันใช้เวลาหมุนรอบดาวพูลโต เท่ากับการหมุนรอบตัวเองของดาวพูลโต ดังนั้นถ้าหากเราอยู่บนดาวพูลโตเราจะมองไม่เห็นดาว Charon ปรากฏบนท้องฟ้า
หมายเหตุ ดาวพลูโตถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ โดยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของดาวเคราะห์แคระ (dwarf planet) เช่นเดียวกับซีรีส